TREND
อัพเดตข่าวสารและเรื่องที่น่าสนใจ

“คิด” พาเที่ยวงานครีเอเตอร์เฟสติวัลแห่งปี COLLECTIVE by cloud 11 ที่จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์จากครีเอเตอร์มากกว่า 50 ชีวิต
ตื่นตาไปกับงานเฟสติวัลแนวใหม่แห่งปีที่ได้รวมรวบผลงานการผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับเทคโนโลยีสุดล้ำจากฝีมือครีเอเตอร์มากกว่า 50 ชีวิต พร้อมด้วยหลากกิจกรรมมากมายทั้งนิทรรศการ งานศิลปะ ดนตรี เวิร์คช็อป เสวนา ร้านค้าศิลปะ และร้านอาหาร กับงาน COLLECTIVE by cloud 11 งานเทศกาลศิลปะวัฒนธรรมครีเอเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย

เปิดตัวช่วยคนอยากลาออกแต่ไม่กล้าบอกหัวหน้า ด้วย “บริการรับจ้างลาออก” เซอร์วิสแนวใหม่ช่วยปลดล็อกจากงานร้าย ๆ
พยายามจะลาออกรอบที่ร้อย แต่สุดท้ายต้องมานั่งกร่อยหน้าโต๊ะทำงานตัวเดิมรอบที่ร้อยหนึ่ง... เพราะการจะลาออกแต่ละทีไม่ใช่เรื่องง่าย แถมยังมีบททดสอบความอ่อนไหวของจิตใจอยู่ทุกกระบวนท่า เพื่อไม่ให้สิ่งใดมาทำใจเราเขว “บริการรับจ้างลาออก” จึงขอเข้ามาเป็นตัวแทนต่อสู้กับสารพันปัญหา เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวคือ “เราต้องลาออกให้สำเร็จ!”

ถอดรหัส “มูเตลู” ภาพสะท้อนความไม่แน่นอนของสังคมการทำงานที่แตกสลาย
เมื่อศาสนาเริ่มกลายเป็นทางเลือกมากกว่าทางหลักที่ผู้คนใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ และสิ่งที่ช่วยผู้คนได้ดีที่สุดในยุคนี้กลับกลายเป็นการมูเตลู ซึ่งมีหัวข้อเรื่อง “อาชีพการงาน” เป็นเรื่องสำคัญของพิธีกรรมนี้เป็นส่วนใหญ่...ลองมาเจาะลึกความสัมพันธ์ระหว่าง “ความเชื่อ” นี้กับ “ชีวิตการทำงาน” กัน

“คิด” พาเปิดโลกขนมสุดคลาสสิก “โคอะลา มาร์ช เวิลด์ เปิดใจให้โลกน่ารักเวรี่มาร์ช”
จากกล่องทรงหกเหลี่ยมสีเขียวสุดคุ้นตา บรรจุคุกกี้พิมพ์ลายโคอะลาขนาดพอดีคำ สัญลักษณ์ความอร่อยที่ใคร ๆ ต่างก็นึกถึงเสมอ สู่งานนิรรศการครั้งแรกในประเทศไทยที่จะทำให้คนไทยได้เปิดใจและเปิดโลกไปกับความน่ารักของโคอะลา มาร์ช ในนิทรรศการ “โคอะลา มาร์ช เวิลด์ เปิดใจให้โลกน่ารักเวรี่มาร์ช”

คิดพาชม “Wistfulness: When Canna Becomes Iris” กับการสร้างเรื่องราวที่เปรียบดั่งโรงละครส่วนตัวผ่านผลงานศิลปะสะสมกว่า 500 ชิ้น
คอศิลปะสายลึกต้องไม่พลาด! กับโอกาสร่วมชมนิทรรศการจัดแสดงผลงานศิลปะสะสมล้ำค่ากว่า 500 ชิ้นที่เปรียบเสมือนการสร้างเรื่องราวในโรงละครส่วนตัว ของ จิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ในนิทรรศการ “Wistfulness: When Canna Becomes Iris โหยหา: เมื่อพุทธรักษาเปลี่ยนเป็นไอริส”

คิดพาชม “The END #6 : Evoke New Design” ผลงานจากเด็กรุ่นใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยไอเดียที่มากกว่า
ตื่นตาไปกับผลงาน 18 ผลงาน โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แขนงวิชาการออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่รังสรรค์ออกมาจากแนวคิดด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการใช้นวัตกรรมผสานกับภูมิปัญญา ต่อยอดให้มีความเป็นสากล ผ่านนิทรรศการศิลปนิพนธ์ The END #6 : Evoke New Design

อาชีพในฝัน ≠ อาชีพวันนี้ สำรวจระยะห่างของความจริงกับความฝันที่อาจบอกอะไรคุณได้มากกว่าที่คิด
มีคนเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่จะลงเอยอยู่ในเส้นทางอาชีพที่พวกเขาใฝ่ฝันตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่คำตอบเรื่องอาชีพในฝันในวัยเด็กที่อาจหลงลืมไปแล้ว อาจทำให้เราเห็นถึงความเชื่อมโยงบางอย่างที่อาชีพนั้นมีผลต่อความต้องการเบื้องลึกในใจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่กับงานปัจจุบันของเราเองที่ดูไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วยซ้ำ

อะไรคือความกังวลร่วมและคุณค่าที่คน Gen Z มองหาในองค์กรยุคใหม่
คน Gen Z จะเป็นกำลังหลักสำคัญในอนาคตของโลกแห่งการทำงาน ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวถึงคนเจนนี้ว่าเป็นลูกจ้างในวันนี้สู่นายจ้างในวันพรุ่งนี้ แต่ความเป็นจริงกลับมีหลายข้อกังวลที่คน Gen Z ยังมองหาและคุณค่าที่ให้ความสำคัญ และหลายอย่างนั้น พวกเขาก็ยังมองไม่ตรงกับคนเจเนอเรชันอื่น ๆ

พักเที่ยง...เวลาทองสุดรักสุดหวงของมวลหมู่มนุษย์ออฟฟิศ
เพราะพนักงานไม่ใช่เครื่องจักร ทุกคนต่างมีพลังงานและสมาธิที่จำกัดในแต่ละวัน แน่นอนสามารถแก้ไขด้วยการจิบกาแฟหรือหาอะไรรองท้องได้บ้าง แต่ในที่สุดร่างกายก็ต้องการการ “หยุดพัก” ที่เหมาะสม...นี่คือเหตุผลว่าทำไมการพักโดยเฉพาะ “ช่วงพักอาหารกลางวัน” จึงมีความสำคัญอย่างมากกับบรรดามนุษย์ทำงาน

พูดได้หลายภาษา! ทักษะนี้ยังสำคัญแค่ไหนกับคนทำงานยุคใหม่
หากมองคนอเมริกันเชื้อสายละตินที่อาศัยในสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งประเทศ ประเทศนี้จะมีตัวเลขจีดีพีสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก แนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นนี้ส่งผลให้ภาคธุรกิจเริ่มหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับบริษัทที่สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาสเปน อันเป็นภาษาหลักของคนในภูมิภาคนี้

เพราะโลกมันโหด เลยขอโดดกลับไปอยู่ในอ้อมอกพ่อแม่ : ปรากฏการณ์ “ลูกเต็มเวลา” อาชีพของวัยทำงานหน้าใหม่ ผู้ประสบภัยในโลกการทำงานของจีน
“บริษัทพ่อกับแม่” ไม่ใช่กิมมิกเก๋ ๆ อีกต่อไป เมื่อวัยรุ่นจีนหลายพันคนหันกลับบ้านมาประกอบอาชีพ “ลูกเต็มเวลา” ที่แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องของครอบครัวใครครอบครัวมัน แต่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวนั้นน่าหวั่นในสเกลระดับประเทศ!

การล้นทะลักของ “ภาพถ่ายสงคราม” ช่วยสร้างความตระหนักหรือความชินชากันแน่?
ภาพถ่ายสงครามเป็นหนึ่งในข้อมูลที่กำลังอยู่ในสภาวะ “ล้นเกิน” อยู่ในปัจจุบัน จากเดิมที่เป้าหมายคือเพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยสงคราม สร้างภาพจำ หรือจับห้วงเวลาอันเหลือเชื่อไว้ แต่ในปัจจุบัน การถูกบีบอัด ย่นย่อ ขยายใหญ่ ทำซ้ำ ดัดแปลง ตัดต่อ ของภาพถ่ายสงครามจนเกลื่อนกลาดบนโลกอินเทอร์เน็ต ยังทำให้พวกมันสามารถทำหน้าที่ตามเป้าหมายเดิมได้อยู่หรือไม่