เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว หลายคนเตรียมตัวออกต่างจังหวัด มองไปทางไหนก็เห็นแต่รถเกลื่อนถนน คนล้นสถานที่ท่องเที่ยว ยิ่งตามเมืองยอดฮิตที่มักเป็นตัวเลือกแรก ๆ อย่างเชียงใหม่หรือภูเก็ต ปริมาณคนก็ยิ่งเพิ่มตามความนิยม จนอาจทำให้หมดสนุก วันหยุดที่สวยหรูกลายเป็นวันเครียด ๆ แสนเหน็ดเหนื่อย แทนที่จะได้พักผ่อนดั่งใจหวัง
จากสถิตินักท่องเที่ยวที่ล้นหลามตามหัวเมืองใหญ่ใน 3 จังหวัดท้อปทรีของไทยก็คือ ชลบุรี ภูเก็ต และเชียงใหม่ พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยว 8.1 ล้านคน1 7.6 ล้านคน และ 4.6 ล้านคน ตามลำดับ และนี่เป็นเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น หากนับชาวไทยไปด้วย จำนวนจะยิ่งทวีคูณ
ทุกคนแย่งกันกิน แย่งกันเที่ยว อออยู่ตามสนามบิน กระจุกตัวตามเส้นทางไปยังสถานที่ยอดนิยม และยิ่งหนักขึ้นเมื่อเป็นช่วงหยุดยาวหลายวัน แล้วทำไมเรายังแห่กันไปเที่ยวที่เดียวกันอยู่อีก ทั้งที่ก็มีตัวเลือกมากมายกว่า 77 จังหวัด
การไปพักผ่อนนอกฤดูหรือในวันธรรมดาอาจเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการจะหลีกหนีความวุ่นวาย และอีกวิธีที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ การไปเที่ยวเมืองเงียบ ๆ ที่ผู้คนยังไม่พลุกพล่าน พร้อมไปซึมซับบรรยากาศของชุมชน ที่น่าจะเป็นอีกคำตอบสำหรับการท่องเที่ยวที่ดีพอกัน
มาตอนนี้ยิ่งกระแส JOMO หรือ Joy of missing out กำลังทวีความแรง แถมมีท่าทีจะแซง FOMO หรือ Fear of missing out ที่กลัวพลาดไปเสียทุกอย่าง แต่การมีความสุขและยินดีกับการที่ไม่ต้องตามใคร ไม่เคยกลัวจะพลาดสิ่งไหน กลับเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวในวันนี้ใช้ในการตัดสินใจปลีกตัวไปในที่แปลกใหม่และยอมที่จะตกเทรนด์ ซึ่งประจวบเหมาะกับบริบทของการท่องเที่ยว ‘เมืองรอง’ ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำลังส่งเสริมอยู่พอดี
เมืองรองที่ว่ามีถึง 55 จังหวัด คิดเป็น 3 ใน 4 ของจำนวนจังหวัดทั้งหมดในประเทศไทย ตัดเมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานครออก หัวเมืองใหญ่ตามแต่ละภาค เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น รวมทั้งนครราชสีมา ที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในสยามประเทศ ปริมณฑลทั้ง 5 (นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี) และเมืองยอดนิยม ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ พังงา สงขลา สุราษฎร์ธานี อยุธยา สระบุรี นับรวมเมืองหลักทั้งหมดได้ 22 จังหวัด ก็จะเหลือเมืองรองให้ไปเที่ยวกันอีกล้นเหลือ
มาสำรวจกันว่าจังหวัดของคุณเป็น ‘เมืองรอง’ ด้วยหรือเปล่า หมายเหตุ : แบ่งภาคการท่องเที่ยวเมืองรองตามเกณฑ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |
นครนายก – ปราจีนบุรี
ตัวอย่างเมืองรองใกล้กรุง ตั้งต้นที่เมืองหลวง
จากกรุงเทพฯ ไปยังนครนายกนั้นใกล้นิดเดียว ไม่กระทบวันหยุดสั้น ๆ สักวันหรือสองวัน ใช้เวลาเดินทางโดยรถส่วนตัวไม่ถึง 2 ชั่วโมงก็ถึงจุดหมาย พุ่งตรงมาที่ชุมชนบ้านบุ่งเข้2 ที่ซ่อนตัวอยู่หลังเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติชื่อดังของบ้านเรา ชุมชนนี้เป็นย่านของคนไทพวน ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานแถวนี้เป็นร้อยกว่าปีมาแล้ว
ขนมคาบหมู ของดีชุมชนบ้านบุ่งเข้
การมาเที่ยวชุมชนนั้นดีหลายอย่าง นอกจากจะได้กินของอร่อยที่ชาวบ้านปรุงร้อน ๆ มาเสิร์ฟแล้ว ยังได้เห็นวิถีการใช้ชีวิตของคนพื้นที่นั้นอีกด้วย เมนูเด็ดของบ้านบุ่งเข้ เห็นจะเป็นขนมหวานที่มีส่วนผสมเหมือนของคาว ที่เรียกว่า ‘ขนมคาบหมู’ ซึ่งอร่อยจนน่าฉงน นอกนั้นยังมี ‘ซุปหมาน้อย’ ที่มีลักษณะเป็นวุ้นสีเขียว เพราะหมาน้อย คือพืชพื้นบ้านสีเขียวชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเดียวกับเจลาติน
ตกบ่ายเดินทางต่อไปยังจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกันอย่างปราจีนบุรี ที่หมายน่าสนใจคือ ‘บ้านดงบัง’ ชุมชนไม้ล้อมขนาดใหญ่ ที่มีของดังคือบอนไซและการทำสวนจิ๋ว หรือที่เรียกว่าสวนมือถือ ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือจัดพร้อมนำกลับบ้านไปคนละอัน เมืองปราจีนยังขึ้นชื่อเรื่องกุ้งแม่น้ำ และบางบ้านก็มีอาชีพตกกุ้งเป็นหลักด้วย
สมุนไพรไทยที่วางขายอยู่ในโรงพยาบาลอภัยภูเบศร
โรงพยาบาลอภัยภูเบศร ตำนานสมุนไพรไทยชื่อดังของประเทศก็ตั้งอยู่ที่นี่ ตึกเก่าสมัยรัชการที่ 5 สีเหลืองอร่ามโดดเด่นอยู่ท่ามกลางสวนดอกไม้หน้าตึก ก่อนไปเลือกชมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ควรเดินชมความงามของอาคารพร้อมกับเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเรื่องสมุนไพรไทยไปกับประวัติศาสตร์อันน่าสนใจด้วย
ไฮไลต์เด็ดของที่นี่ คือนวดแผนไทย ทั้งนวดตัว นวดน้ำมัน นวดหน้า และนวดเท้า เมื่อนวดครบ 1 ชั่วโมง ชาขิงผสมอัญชันอุ่น ๆ ก็พร้อมเสิร์ฟ นับเป็นการนวดที่คุ้มค่าและพลาดไม่ได้ ส่วนใครที่ชอบการล่องเรือชมแม่น้ำ ก็ไม่ควรพลาดการล่องเรือชมวิถีชีวิตชุมชน แวะสักการะวัดแก้วพิจิตร ที่พระยาอภัยภูเบศรเป็นผู้สร้างอุโบสถถวาย สองข้างทางของแม่น้ำปราจีนบุรี อันเป็นแม่น้ำสายเดียวกันกับแม่น้ำบางประกง ยังสามารถแวะชมสถานที่ของชุมชนได้หลากหลาย ทั้งศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดบางคาง และวัดโบสถ์ วัดกลางน้ำ ระหว่างล่องเรือก็ได้ดูวิถีชีวิตชาวบ้านริมน้ำ สำรวจคนตกกุ้ง และส่องฝูงค้างคาวแม่ไก่ที่นอนห้อยหัวอยู่บนต้นไม้ใหญ่ริมน้ำรอออกหากินในยามค่ำคืน
นี่เป็นเพียงตัวอย่างสำหรับการท่องเที่ยว ‘เมืองรอง’ ที่พาเราไปเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ และไปหาความสงบในการพักผ่อน ซึ่งอาจหาไม่ได้จากเมืองท่องเที่ยวหลัก แม้จะเป็นพื้นที่เล็ก ๆ แต่ก็ทำให้หัวใจพองโต การได้พูดคุยและฟังเรื่องราวจากชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของเรื่อง ยิ่งทำให้การไปเที่ยวมีความหมาย การได้ค้นพบหลากหลายมุมมองของไทย ผืนดินแม่ที่อุดมไปด้วยเรื่องราวน่ารัก ๆ ที่พร้อมจะมาเล่าสู่กันฟังได้อีกมากมาย และเติมเต็มวันหยุดเพียงช่วงสั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้งถึงอารมณ์
ลองมาดูกันว่าแต่ละภาคมี ‘ไม้เด็ด’ อะไรที่น่าสนใจกว่าเมืองท่องเที่ยวหลักที่เรามักไปกันอยู่เป็นประจำอีกบ้าง
แม่นํ้าปาย แอ่วเหนือ
|
ส่องอีสาน
|
เที่ยวกลาง รุ่มรวยไปด้วยวัดวาอาราม สถาปัตยกรรม โบราณสถานต่าง ๆ นานา มีเมืองหลวงเป็นตัวชูโรง เที่ยวกลางในที่นี้จะรวมถึงทั้งภาคตะวันตกและตะวันออกไปด้วยกัน เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าอย่างอยุธยา และกรุงเทพฯในปัจจุบัน ส่วนทางตะวันออกเลียบชายฝั่งอ่าวไทยคือเป็น ‘ทะเลใกล้กรุง’ ที่ใครก็อยากไปเยือน
|
ล่องใต้ ขนาบไปด้วยทะเลสองฝั่ง ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แหล่งหาดทรายขาว ทะเลสวย น้ำใส อาหารรสชาติจัดจ้านสไตล์ปักษ์ใต้ และ ‘ทะเล’ สถานที่คลายร้อนยอดฮิต เพื่อรับแสงแดดอุ่น ๆ และสายลมอ่อน ๆ หากเบื่อการไปทะเลแล้ว การไปเที่ยวชุมชนชาวใต้ ก็จะพบว่ายังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกเพียบ
|
|
‘เมืองรอง’ ที่ไม่มีใครสนใจ ถูกเมินจากนักท่องเที่ยว กำลังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพชรเม็ดงามที่รอให้เราออกไปค้นหา การได้ออกไปดื่มด่ำกับบรรยากาศ และได้ใช้ชีวิตกับผู้คนในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่คนยุคนี้กำลังโหยหา ไปเที่ยวเมืองรองไม่ได้หมายความว่าจะสนุกเป็นรองการไปเมืองใหญ่ เพราะนั่นอาจให้การพักผ่อนที่แท้จริง ได้หลบหนีจากความวุ่นวายของสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่งดัง มาหย่อนใจ เอนกายในที่ที่เราสบายใจ ผ่อนคลายความเครียดจากงานที่รุมเร้ามาเนิ่นนาน
เมืองรองที่เป็นอยู่อาจไม่ยินดีที่จะเป็นรอง แต่เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่น้อยเกิน บวกกับรายได้ที่ไม่สูงเท่ากับเมืองยอดนิยม รัฐบาลจึงยื่นมือเข้าช่วยด้วยการออกนโยบาย ‘เที่ยวเมืองรอง’ เพื่อมาเกื้อหนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ไปสู่เมืองอื่น ๆ และเลี่ยงการกระจุกตัวของเม็ดเงินให้ไหลเข้าสู่ท้องถิ่นมากขึ้น แม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่คำถามที่ลึกลงไปกว่านั้นคือ จะทำอย่างไรให้เงินไหลได้ทั่วทั้งประเทศ นี่อาจเป็นสิ่งที่ชุมชนและพวกเราเป็นคนกำหนด เพื่อทำให้เมืองรองกลายเป็น ‘เมืองที่น่าจดจำ’ ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม
|
ที่มาภาพเปิด: commons.wikimedia.org
1ข้อมูลประจำปี 2561
2บ้านบุ่งเข้ มีที่มาตรงตัวคือแต่ก่อน เคยมีจระเข้ว่ายเวียนอยู่ในบึง จึงเรียกกันติดปากแต่นั้นเป็นต้นมา
3เทศกาลแห่ดาวเพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติพระเยซู ที่บ้านท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ที่มา
golocal.tourismthailand.org
mots.go.th
intelligencecenter.tat.or.th
บทความ “JOMO is the new FOMO – and it’s perfect for preventing burnout” (กรกฎาคม 2561) จาก theladders.com
บทความ “ ‘เมืองรอง...ต้องไป’ นพดล ภาคพรต รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (พฤศจิกายน 2561) จากrabbittoday.com
หนังสือ “Once as a Tourist” จัดพิมพ์โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร
Give Secondary Cities a Chance
When the travelling season arrives, many people get set to go out of town. There are traffic jams everywhere you look. Tourist attractions are overcrowded, particularly the first-choice main destinations like Chiang Mai or Phuket where the number of visitors keep increasing in proportion to their popularity. Instead of getting to relax and enjoy yourself, the overcrowding problem might turn your holiday into an exhausting and stressful experience.
According to the statistics of Thailand’s top 3 most visited cities, the number of tourists travelling to Phuket, Chonburi and Chiang Mai are 8.1, 7.6 and 4.6 million, respectively1 . And those are just foreign visitors; if including domestic tourists the numbers will be multiplied.
En route to popular tourist destinations, the overcrowding of tourists has turned dining and travelling into a struggle, including at the airports. And that problem only intensifies during long holidays. Why then do we still flock to the same spots, despite the fact that there are so many alternatives in more than 77 cities?
Travelling out of season or during weekdays might be a good option for those who want to escape the turmoil. Another equally interesting way is to visit a quiet, less-crowded city where you can appreciate the community atmosphere.
Now that the JOMO (Joy of Missing Out) trend is gaining traction and seems to overtake FOMO (Fear of Missing Out), being happy and enjoying yourself without following what other people are doing has become the pursuit of today tourists. It inspires them to go against the tide and choose new destinations, which coincides with the exploring “secondary cities” campaign currently promoted by the Tourism Authority of Thailand.
There are 55 “secondary cities”, which accounts for three quarters of the provinces in Thailand. Leaving out the capital city of Bangkok; regional hubs like Chiang Mai, Phuket and Khon Kaen as well as Nakhon Ratchasima which is the largest province in the country; Bangkok Metropolitan Region (the 5 adjacent provinces of Nakhon Pathom, Samut Sakhon, Samut Prakarn, Pathum Thani and Nonthaburi); and popular cities like Chonburi, Chachoengsao, Rayong, Kanchanaburi, Petchaburi, Prachuap Khiri Khan, Krabi, Phang Nga, Songkhla, Surat Thani, Ayutthaya and Saraburi we still have so many second-tier cities to visit aside from those 22 main cities.
Let’s find out if your province is a “Secondary City” Note: Regionalised by the Tourism Authority of Thailand’s Secondary City Criteria |
12018 data
Story: Wanabud Yupakaset