RELATED ARTICLES
การเตรียมตัวอีสานสู่อนาคต
8 min. Read | 25 กันยายน 2563 | 20 k
ภาคอีสานเป็นหน้าด่านของการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม และภาคใต้ของจีน ตัวอย่างแรกๆ ที่การพลิกโฉมคือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเปิดพรมแดนระหว่างไทยกับลาวด้วยสะพานมิตรภาพไทย ลาวแห่งที่หนึ่งในปี 2537 สะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขงอีกหลายแห่งก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น มุกดาหาร นครพนม การค้าขายข้ามพรมแดนกับกัมพูชาผ่านด่านต่างๆ ทางตอนใต้ของภูมิภาคก็เปลี่ยนภาพและเติบโตไปอย่างชัดเจน
ด้วยสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจและคมนาคมทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นจากทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อการเดินทางสะดวกมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกเข้าหากัน คนต่างเริ่มออกแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ให้คุณค่ากับความแตกต่างของท้องถิ่น ซึ่งล้วนเปิดโอกาสให้เรื่องราวต่างๆ ถูกเล่าใหม่ และเรื่องราวใหม่ๆ ถูกค้นพบ อีสานเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย วัฒนธรรมที่งดงาม วิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ กระบวนการถ่ายทอดเรื่องราวและการจัดการสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ จะเชิญชวนให้คนอยากเข้าไปสัมผัส ช่วยสร้างรายได้หมุนเวียนให้กับชุมชนอย่างไม่รู้จบ
สินค้าทางวัฒนธรรมระดับโลก
เทศกาลเป็นหนึ่งในสินค้าทางวัฒนธรรมที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน สร้างรายได้ทั้งการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากได้รับการจัดการที่ดี และเล่าเรื่องราวอย่างน่าสนใจ เทศกาลนั้นอาจถูกยกระดับให้เป็นเทศกาลระดับโลก และเป็นปลายทางใหม่ของผู้แสวงหาประสบการณ์ที่แตกต่าง
ประสบการณ์ใหม่จากท้องถิ่น
ว่ากันว่าหากต้องการได้รับประสบการณ์ใหม่ ให้ลองเปลี่ยนสภาพแวดล้อม นำตัวเข้าไปอยู่ในสังคมที่แตกต่าง แล้วลองใช้ชีวิตในแบบที่ไม่เคยชิน สิ่งนี้เปิดโอกาสให้ท้องถิ่น เปิดรับแขกต่างวัฒนธรรมเข้าไปสัมผัสความงดงามที่ซ่อนตัวอยู่ในชุมชน ที่ซึ่งล้วนต่างกันหมด ด้วยกายภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผู้คน และวิถีชีวิต
สร้างเมืองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์
หากเราพิจารณาถึงต้นทุนทางวัฒนธรรมมากมายในภาคอีสาน ซึ่งมีทั้งความหลากหลายของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ที่เมื่อผสมผสานกับความเป็นไปได้ของคนอีสาน ทำให้ภูมิภาคนี้พร้อมก้าวสู่การเป็น “เมืองสร้างสรรค์” นิเวศที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคน สถานที่ และอัตลักษณ์ของเมือง ที่ซึ่งใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม
พัฒนากายภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
+
ส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ท้องถิ่น
+
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
+
ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน
ที่มาภาพเปิด : Unsplash/Javier Allegue Barros
ที่มา :
หนังสือ สู่วิถีอีสานใหม่ โดย พัฒนา กิติอาษา, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา
บทความ “เศรษฐกิจอีสานสู่มิติใหม่แห่งการพัฒนา เสริมสร้างโอกาสการค้า และการลงทุน” จาก positioningmag.com
บทความ “อีสานมุมใหม่ คำบอกเล่าจากนักเศรษฐศาสตร์ ม.ขอนแก่น” จาก voicetv.co.th
บทความ “รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย 2560-2561” จาก seub.or.th
บทความ ““ผังภาคอีสานปี 2600” กับอนาคตคนอีสาน” จาก isaanrecord.com
บทความ “ความเป็นเมือง และนัยเชิงนโยบายของไทย” จาก bot.or.th
บทความ “คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย” จาก socanth.tu.ac.th